จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ 10

Middle 05 นักถ่ายภาพที่ไม่ใช่มือใหม่ ต้องรู้จัก รูรับแสง หรือ Av..

 
    Aperture Value หรือ ค่ารูรับแสง เป็นค่าที่แสดง การเปิดของช่องรับแสงในกล้อง
  ว่ามากน้อยเพียงใด ยิ่งค่าน้อย แสดงว่าเปิดรับแสงมาก ยิ่งค่ามาก แสดงว่าเปิดรับแสงน้อย
  อย่าสับสนนะครับ ดูภาพตัวอย่างข้างล่างประกอบ
     ค่า Aperture Value นี้ ในอดีต ปรับค่าเป็นแบบกลใก เพิ่มลงที่ละช่วง ใช้ค่า f
  แทนความสว่างแต่ละค่า จึงได้ยินบางครั้ง เขาเรียนกว่า f-number และ การเพิ่มขึ้นลง
  ของ f- number ทีละขั้น ก็เรียกว่า f-stop ซึ่งปัจจุบันในระบบดิจิตอล สามารถเพิ่ม ลด
  ได้ละเอียดมาก บางครั้ง เพิ่ม หรือ ลด ที่ละ 1/2 stop เรียกว่า ครึ่ง สต็อป หรือ 1/3 ก็มี

      
       ภาพที่ 1 จะเห็นค่า ยิ่ง ค่ารูรับแสง น้อย ก็จะเปิดไดอะแฟรม ของกล้องมาก และ
  ถ้า ค่ารูรับแสงมาก จะหรี่ไดอะแฟรม ลดจนแคบ และ มีให้เห็นได้ถึง f 32 เลยดีเดียว

                      
       ภาพที่ 2 การปรับค่ารูรับแสง นี้ สามารถปรับได้ที่โหมด Av หรือ บางยี่ห้อ ก็เรียก A
 เท่านั้น ก็หมายถึงค่าเดียวกัน และ ยังสามารถปรับได้ถ้าหากใช้โหมด M หรือ Manual ด้วย


                      

       ภาพที่ 3 ในภาพแสดงค่า รูรับแสงที่ f 4

                      
    
       ภาพที่ 4 ปรกติกล้องดิจิตอลทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่า กล้องคอมแพ็ก มักจะตั้งได้เพียง f 8
 เท่านั้น อย่ามากก็ตั้งแคบสุดได้เพียง f 11 ซึ่งต่างจากกล้อง DSLR ที่เปลี่ยนเลนส์ได้ มักจะ
 ตั้งได้ f 16 -
f 32 เลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้
      ส่วนรูรับแสง หรือ f-number มีผลอย่างไรกับภาพ ดูตัวอย่าง ในหัวข้อต่อ ๆ ไปได้เลยครับ
 ในบทนี้ แค่รู้จัก และ ไม่สับสน กับ Aperture , f-number และ f-stop ก็ยอดแล้วครับ

  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. โหมด Av หรือ A ในกล้องถ่ายภาพหมายถึง ค่ารูรับแสง หรือ f-number
        2. รูรับแสงน้อย หมายถึงเปิดไดอะแฟรม มาก รูรับแสงมาก หมายถึง เปิดน้อย
        3. หากสามารถเปิดรูรับแสงได้มาก ย่อมมีความสว่าง มากกว่า นั้นเอง

เทคนิคถ่ายภาพ 9

Middle 04 ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ ต้องใช้เมื่อใด

 
            หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วจะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ เมื่อใด ก็ยกตัวอย่างให้ดูตาม
  ภาพด้านล่างเช่นการถ่ายภาพนก , ถ่ายภาพกีฬา ที่ต้องมีการเคลื่อนไหวที่สูงซึ่งถ้ามีโอกาส ก็
  อยากให้ทุกท่านได้ไปลองฝึกฝนดูนะครับ จะสนุกกับการถ่ายภาพได้มากยิ่งขึ้น แต่ ก็ควรจะมี
  เลนส์ทางยาวโฟกัส สูง ๆ สักหน่อยนะครับ เพื่อสามารถดึง หรือ ซูมให้นกเข้ามาใกล้ ๆ เราได้

                      

       ภาพที่ 1ความเร็วเพียง 1/100 วินาที ไม่สามารถหยุดความเคลื่อนไหวของนกได้ ทำให้
    ได้ภาพเบลอ


                      

       ภาพที่ 2 ความเร็ว 1/1250 วินาที จะได้นกที่สวยงาม

                      
       ภาพที่ 4
ความเร็ว 1/1250 เช่นกัน จะเห็นว่าการถ่ายรูปสิ่งที่เคลื่อนไหว ท่านต้อง
   ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง เพื่อหยุดความเคลื่อนไหวให้ได้ รวมทั้งการโฟกัส ก็ควรใช้  
   การโฟกัสแบบต่อเนื่อง ครับ



  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. การถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหว ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ
        2.
ควรมีเลนส์ที่ทางยาวโฟกัส สูงสักหน่อยเพื่อซูมนก หรือ นักกีฬา
        3. หากความเร็วชัตเตอร์ไม่พอ ให้เพิ่มความกว้างของรูรับแสง
            คือให้มีค่ามาก ๆ เช่น 2.8
        4. สุดท้าย หากยังไม่สามารถทำความเร็วได้สูง เนื่องจากสภาพแสงน้อย ก็ให้
           เพิ่ม ISO ให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ควรสูงเกิน 800 นะครับ จะเกิดจุดรบกวนมาก

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ 8

Middle 03 ความเร็วชัตเตอร์ รู้จักดี ๆ ถ่ายภาพกลางคืนได้เลยนะ..

 
    ความเร็วชัตเตอร์ ยิ่งเร็วเท่าใด แสงก็จะเข้าน้อยเท่านั้น และ ยิ่งนาน เท่าใด แสงก็จะ
 มากขึ้นเท่านั้น เราใช้ความเข้าใจนี้นำมาถ่ายภาพ ตอนใกล้ค่ำ หรือ ภาพกลางคืน ได้ ทำให้
 เราสามารถเห็นสิ่งต่าง ๆ ในเวลากลางคืนได้ ยิ่งเปิดหน้ากล้อง นานเท่าใด ก็จะสว่างเท่านั้น
 ดูตัวอย่างด้านล่าง แล้วท่านจะพบว่าการถ่ายภาพในเวลากลางคืน หรือ ไม่มีแสง ไม่ใช่
 เรื่องยากอีกต่อไป หากท่านเข้าใจเรื่อง ความเร็วชัตเตอร์ เป็นอย่างดี
    แต่การถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ๆ นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้เด็ดขาด คือ ขาตั้งกล้องนะครับ

                      
       ภาพที่ 1 ความเร็วชัตเตอร์ 6 วินาที เราแทบมองไม่เห็นอะไรเลย

                      
       ภาพที่ 2 ความเร็วชัตเตอร์ 10 วินาที ภาพในความมืดเริ่มปรากฎ

                      
       ภาพที่ 3 ความเร็วชัตเตอร์ 15 วินาที เราเห็นแล้วว่าอะไรเป็นอะไร

                      
       ภาพที่ 4
ความเร็วชัตเตอร์ 25 วินาที
แม้ว่าภาพนี้ผมจะถ่าย ตอน 1 ทุ่ม หรือ 19.00 น.
 แต่เราก็สามารถมองเห็นอะไรได้ยังกะว่า พึ่งจะ 6 โ มงเย็นเท่านั้นเอง ดังนั้นจากนี้ไป ท่านที่มีกล้อง
 ที่เปิดหน้ากล้องได้นาน หรือ ตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้หลาย ๆ วินาที คงไม่กลัวการถ่ายภาพในที่
 มืด หรือ แสงน้อยอีกต่อไปแล้วใช้ไหมครับ ฝึกให้เก่ง ๆ ท่านจะถ่ายภาพ อาทิตย์ขึ้น อาทิตย์ตก
 หรือ แม้แต่ภาพดวงจันทร์ ได้เลยทีเดียว แสงไฟยามราตรี จะเป็นภาพที่ท่านมีเก็บในอัลบัม
 ของท่านแล้วทีนี่...


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. การเปิดหน้ากล้องนาน ๆ หลายวินาที สามารถทำให้ถ่ายภาพกลางคืนได้เลย
        2.
การถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ เป็นวินาที ๆ นี้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ขาตั้งกล้องครับ
        3. การทำให้ภาพคมชัดยิ่งขึ้น ควรมีชัตเตอร์มือ หรือ ตั้งเวลาอัติโนมัติเพื่อให้กล้อง
           นิ่งที่สุด และ ได้ภาพคมชัด