จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ 10

Middle 05 นักถ่ายภาพที่ไม่ใช่มือใหม่ ต้องรู้จัก รูรับแสง หรือ Av..

 
    Aperture Value หรือ ค่ารูรับแสง เป็นค่าที่แสดง การเปิดของช่องรับแสงในกล้อง
  ว่ามากน้อยเพียงใด ยิ่งค่าน้อย แสดงว่าเปิดรับแสงมาก ยิ่งค่ามาก แสดงว่าเปิดรับแสงน้อย
  อย่าสับสนนะครับ ดูภาพตัวอย่างข้างล่างประกอบ
     ค่า Aperture Value นี้ ในอดีต ปรับค่าเป็นแบบกลใก เพิ่มลงที่ละช่วง ใช้ค่า f
  แทนความสว่างแต่ละค่า จึงได้ยินบางครั้ง เขาเรียนกว่า f-number และ การเพิ่มขึ้นลง
  ของ f- number ทีละขั้น ก็เรียกว่า f-stop ซึ่งปัจจุบันในระบบดิจิตอล สามารถเพิ่ม ลด
  ได้ละเอียดมาก บางครั้ง เพิ่ม หรือ ลด ที่ละ 1/2 stop เรียกว่า ครึ่ง สต็อป หรือ 1/3 ก็มี

      
       ภาพที่ 1 จะเห็นค่า ยิ่ง ค่ารูรับแสง น้อย ก็จะเปิดไดอะแฟรม ของกล้องมาก และ
  ถ้า ค่ารูรับแสงมาก จะหรี่ไดอะแฟรม ลดจนแคบ และ มีให้เห็นได้ถึง f 32 เลยดีเดียว

                      
       ภาพที่ 2 การปรับค่ารูรับแสง นี้ สามารถปรับได้ที่โหมด Av หรือ บางยี่ห้อ ก็เรียก A
 เท่านั้น ก็หมายถึงค่าเดียวกัน และ ยังสามารถปรับได้ถ้าหากใช้โหมด M หรือ Manual ด้วย


                      

       ภาพที่ 3 ในภาพแสดงค่า รูรับแสงที่ f 4

                      
    
       ภาพที่ 4 ปรกติกล้องดิจิตอลทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่า กล้องคอมแพ็ก มักจะตั้งได้เพียง f 8
 เท่านั้น อย่ามากก็ตั้งแคบสุดได้เพียง f 11 ซึ่งต่างจากกล้อง DSLR ที่เปลี่ยนเลนส์ได้ มักจะ
 ตั้งได้ f 16 -
f 32 เลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้
      ส่วนรูรับแสง หรือ f-number มีผลอย่างไรกับภาพ ดูตัวอย่าง ในหัวข้อต่อ ๆ ไปได้เลยครับ
 ในบทนี้ แค่รู้จัก และ ไม่สับสน กับ Aperture , f-number และ f-stop ก็ยอดแล้วครับ

  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. โหมด Av หรือ A ในกล้องถ่ายภาพหมายถึง ค่ารูรับแสง หรือ f-number
        2. รูรับแสงน้อย หมายถึงเปิดไดอะแฟรม มาก รูรับแสงมาก หมายถึง เปิดน้อย
        3. หากสามารถเปิดรูรับแสงได้มาก ย่อมมีความสว่าง มากกว่า นั้นเอง

เทคนิคถ่ายภาพ 9

Middle 04 ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ ต้องใช้เมื่อใด

 
            หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วจะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ เมื่อใด ก็ยกตัวอย่างให้ดูตาม
  ภาพด้านล่างเช่นการถ่ายภาพนก , ถ่ายภาพกีฬา ที่ต้องมีการเคลื่อนไหวที่สูงซึ่งถ้ามีโอกาส ก็
  อยากให้ทุกท่านได้ไปลองฝึกฝนดูนะครับ จะสนุกกับการถ่ายภาพได้มากยิ่งขึ้น แต่ ก็ควรจะมี
  เลนส์ทางยาวโฟกัส สูง ๆ สักหน่อยนะครับ เพื่อสามารถดึง หรือ ซูมให้นกเข้ามาใกล้ ๆ เราได้

                      

       ภาพที่ 1ความเร็วเพียง 1/100 วินาที ไม่สามารถหยุดความเคลื่อนไหวของนกได้ ทำให้
    ได้ภาพเบลอ


                      

       ภาพที่ 2 ความเร็ว 1/1250 วินาที จะได้นกที่สวยงาม

                      
       ภาพที่ 4
ความเร็ว 1/1250 เช่นกัน จะเห็นว่าการถ่ายรูปสิ่งที่เคลื่อนไหว ท่านต้อง
   ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง เพื่อหยุดความเคลื่อนไหวให้ได้ รวมทั้งการโฟกัส ก็ควรใช้  
   การโฟกัสแบบต่อเนื่อง ครับ



  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. การถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหว ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ
        2.
ควรมีเลนส์ที่ทางยาวโฟกัส สูงสักหน่อยเพื่อซูมนก หรือ นักกีฬา
        3. หากความเร็วชัตเตอร์ไม่พอ ให้เพิ่มความกว้างของรูรับแสง
            คือให้มีค่ามาก ๆ เช่น 2.8
        4. สุดท้าย หากยังไม่สามารถทำความเร็วได้สูง เนื่องจากสภาพแสงน้อย ก็ให้
           เพิ่ม ISO ให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ควรสูงเกิน 800 นะครับ จะเกิดจุดรบกวนมาก

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ 8

Middle 03 ความเร็วชัตเตอร์ รู้จักดี ๆ ถ่ายภาพกลางคืนได้เลยนะ..

 
    ความเร็วชัตเตอร์ ยิ่งเร็วเท่าใด แสงก็จะเข้าน้อยเท่านั้น และ ยิ่งนาน เท่าใด แสงก็จะ
 มากขึ้นเท่านั้น เราใช้ความเข้าใจนี้นำมาถ่ายภาพ ตอนใกล้ค่ำ หรือ ภาพกลางคืน ได้ ทำให้
 เราสามารถเห็นสิ่งต่าง ๆ ในเวลากลางคืนได้ ยิ่งเปิดหน้ากล้อง นานเท่าใด ก็จะสว่างเท่านั้น
 ดูตัวอย่างด้านล่าง แล้วท่านจะพบว่าการถ่ายภาพในเวลากลางคืน หรือ ไม่มีแสง ไม่ใช่
 เรื่องยากอีกต่อไป หากท่านเข้าใจเรื่อง ความเร็วชัตเตอร์ เป็นอย่างดี
    แต่การถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ๆ นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้เด็ดขาด คือ ขาตั้งกล้องนะครับ

                      
       ภาพที่ 1 ความเร็วชัตเตอร์ 6 วินาที เราแทบมองไม่เห็นอะไรเลย

                      
       ภาพที่ 2 ความเร็วชัตเตอร์ 10 วินาที ภาพในความมืดเริ่มปรากฎ

                      
       ภาพที่ 3 ความเร็วชัตเตอร์ 15 วินาที เราเห็นแล้วว่าอะไรเป็นอะไร

                      
       ภาพที่ 4
ความเร็วชัตเตอร์ 25 วินาที
แม้ว่าภาพนี้ผมจะถ่าย ตอน 1 ทุ่ม หรือ 19.00 น.
 แต่เราก็สามารถมองเห็นอะไรได้ยังกะว่า พึ่งจะ 6 โ มงเย็นเท่านั้นเอง ดังนั้นจากนี้ไป ท่านที่มีกล้อง
 ที่เปิดหน้ากล้องได้นาน หรือ ตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้หลาย ๆ วินาที คงไม่กลัวการถ่ายภาพในที่
 มืด หรือ แสงน้อยอีกต่อไปแล้วใช้ไหมครับ ฝึกให้เก่ง ๆ ท่านจะถ่ายภาพ อาทิตย์ขึ้น อาทิตย์ตก
 หรือ แม้แต่ภาพดวงจันทร์ ได้เลยทีเดียว แสงไฟยามราตรี จะเป็นภาพที่ท่านมีเก็บในอัลบัม
 ของท่านแล้วทีนี่...


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. การเปิดหน้ากล้องนาน ๆ หลายวินาที สามารถทำให้ถ่ายภาพกลางคืนได้เลย
        2.
การถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ เป็นวินาที ๆ นี้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ขาตั้งกล้องครับ
        3. การทำให้ภาพคมชัดยิ่งขึ้น ควรมีชัตเตอร์มือ หรือ ตั้งเวลาอัติโนมัติเพื่อให้กล้อง
           นิ่งที่สุด และ ได้ภาพคมชัด

เทคนิคถ่ายภาพ 7

Middle 02 เราจะควบคุม ความเร็วชัตเตอร์ ได้อย่างไร

 
    หลังจากเรารู้แล้วว่า ความเร็วชัตเตอร์ มีผลกับภาพอย่างไร แล้วจะไปตั้งค่าความเร็ว
 ก่อนถ่ายภาพได้อย่างไร ปรกติ นักถ่ายกล้องมือใหม่ มักจะตั้งโหมดเป็น Auto ไว้เสมอ
 เพราะ กดอย่างเดียว แต่ตอนนี้ท่านศึกษาระดับกลาง แล้ว ต้องเปลี่ยนแล้วครับ
    หากต้องการควบคุมความเร็วชัตเตอร์ ก่อนถ่ายภาพ ควรใช้ Mode Tv หรือ M
 ดูรูปด้านล่างประกอบ Tv นี้กล้อง บางตัวอาจใช้คำว่า S แทน ซึ่งแปลว่า Shutter Value
 ก็คือค่าความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งเป็นตัวเดียวกัน แต่คำว่า Tv ย่อมาจาก Time Value

                      
       ภาพที่ 1 การควบคุมความเร็วชัตเตอร์ ให้ตั้ง ค่าที่โหมด ไปที่ Tv หรือ S (บางตัว)

                      
       ภาพที่ 2 เมื่อตั้งต่า Tv แล้ว เราก็สามารถควบคุม ค่าได้โดยดูที่จอภาพ อย่างในรูป
 ค่าความเร็วอยู่ที่ 1/60 วินาที ซึ่งเราสามารถปรับได้ตามภาพที่ต้องการ


                      
       ภาพที่ 3 หากใช้ Mode M ก็จะทำเช่นเดียวกัน แต่โหมด M จะมีค่า F ด้วย ซึ่ง
 เราจะเรียนรู้เรื่องค่า F ในบทต่อ ๆ ไปครับ
                   


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. มือใหม่ ใช้แต่โหมด Auto แต่ ผู้ที่เก่งขึ้น จะเริ่มใช้โหมดอื่น มากขึ้น
        2.
เราควบคุมความเร็วชัตเตอร์ได้โดยใช้ Mode Tv หรือ M
        3. ความเร็วชัตเตอร์ แต่ละขั้น เรียงจาก น้อยสุด (เปิดน้อยสุด) ไป มาก...เป็นดังนี้
           1/8000 , 1/4000 , 1/2000 , 1/1000 , 1/500 , 1/250 , 1/125 ,
           1/60 , 1/30 , 1/15 , 1/4 , 1/2 , 1" วินาที ,.... , 30" B เป็นต้น
           โดยที่ชัตเตอร์ B คือ ผู้เวลาที่กำหนดเองโดยผู้ถ่ายภาพ
        4. กล้องแต่ละตัวไม่ได้มี ครบทุกค่า ดังนี้ ท่านต้องตรวจดูว่ากล้องของท่าน สามารถ
           ตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้เร็วสุด และ นานสุดเท่าใด เพื่อประกอบการถ่ายภาพ

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ 6

Middle 01 Shutter Speed ความเร็วชัตเตอร์ มีผลอย่างไร
      เริ่มต้นระดับกลาง บทแรก ขอเริ่มที่ ความเร็วชัตเตอร์ หรือ shutter speed
 หลายคนบอกว่า นี่เป็นความรู้ พื้นฐานเลยนะนี่ Basic ชัด ๆ ทำไมเอามาอยู่ระดับกลาง
 ที่ผมถือว่าเป็นระดับกลาง ก็เพราะว่า นักถ่ายภาพ มือใหม่ เกือบ 80 % ไม่มีความรู้เรื่องนี้
 บอกให้ถ่ายรูปที่ความเร็ว 1/5 วินาที รับรอง งง เป็น กุ้งตาแตกเลยครับ และ ต้องใช้
 ขาตั้งกล้องอีก ไม่ใช่แค่ ยกกล้องขึ้นมาแล้วกด แช๊ะ แช๊ะ
     ความเร็วชัตเตอร์ เป็นความเร็วในการเปิด/ปิด ช่องรับแสง ของกล้อง ถ้าเห็นเครื่องหมาย
 / เช่น 1/125 แปลว่า มีความเร็วสูง คือ เสี้ยวหนึ่งของวินาทีแค่นั้นเอง แบ่งเวลา 1 วินาที
 ออกเป็น 125 ส่วน และ คิดดูว่า แค่ 1 ส่วนจะเร็วเพียงใด 1/5 วินาที คือ ครึ่งวินาทีนั้นเอง
 แปลว่ามีความเร็วช้าลง
     ถ้าเป็นตัวเลขโดด ๆ เช่น 1 หรือ 3 หรือ 8 อย่างนี้ เป็นวินาทีครับ คิดดูว่าหน้ากล้องเปิด
 8 วินาที มือใหม่จะถือกล้องถ่ายรูปกันอย่างไร นี่คือเหตุผลของการนำมาอยู่ในระดับกลาง
 ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้ก็แสดงความพัฒนา ความสามารถขึ้นมาแล้วนะครับ
     ความเร็วชัตเตอร์สูงมักใช้ถ่ายภาพ เคลื่อนไหว หรือ กีฬา ความเร็วชัตเตอร์น้อยมักถ่าย
 ภาพน้ำตกให้เป็นสาย หรือ ในถาพในที่แสงน้อย เพื่อให้มีความสว่างมากขึ้น ดูตัวอย่าง

                      
       ภาพที่ 1ความเร็วชัตเตอร์ 1/50 วินาที น้ำตกเห็นเป็นเม็ด ๆ เลย

                      
       ภาพที่ 2 ความเร็วชัตเตอร์ 1/25 วินาที เริ่มพริ้วขึ้น

                      
       ภาพที่ 3 ความเร็วชัตเตอร์ 1/13 วินาที มีความเป็น สายน้ำมากขึ้น

                      
       ภาพที่ 4 ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที เป็นสายน้ำ นุ่มนวล สวยงาม


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. ความเร็วชัตเตอร์ คือ ระยะเวลาที่เปิดหน้ากล้องรับแสง ว่านานเท่าใด
           ยิ่งเปิดนานขึ้นเท่าใด ก็จะยอมให้แสง ผ่านเข้ามาได้มากขึ้นเท่านั้น
        2. ปรกติตัวเลข 15 , 60 , 125 , 250 ถ้าไม่มีเครื่องหมาย " แสดงว่าเป็นส่วนของวินาที
           คือ 1/15 วินาที แต่ถ้ามีเครื่องหมาย " เช่น 15" แปลว่าเปิดหน้ากล้องนาน15 วินาที

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ 5

Basic 05 จังหวะ จังหวะ จังหวะ ทำให้เราได้ภาพที่น่าสนใจ

 
    ตรงนี้ คงไม่ได้อยู่ที่กล้องราคาแพง หรือ มีคุณสมบัติเลศเลอ ครับ แต่เป็นความสามารถ
  ในการถ่ายในจังหวะที่ดีกว่า ย่อมได้ภาพที่ดูมีชีวิตชีวา มากกว่า บางคนถาพเหมือนกัน แต่
  ทำไมดูดี หรือ ดูน่าสนใจต่างกัน ลองดูภาพด้านล่านี้แล้วประยุกต์ใช้กับ ภาพต่าง ๆ นะครับ

                      
       ภาพที่ 1นกเดินเรื่อยเปื่อย เราสามารถถ่ายภาพนี้ได้ไม่ยาก เพราะนกพิราบเชื่อง
  กว่านกอื่น ๆ แต่ดูรูปที่ 2 พบว่า ภาพน่าสนใจกว่า

                      
       ภาพที่ 2 กดชัตเตอร์ จังหวะที่นกมองมายังเราพอดี ดูตามันสิ .. รอจังหวะย่อมได้ภาพ
 ที่ดีขึ้น 


                      
       ภาพที่ 3 ภาพคุณกา ที่มาเกาะอยู่ใกล้ ๆ ก็ว่าถ่ายยากเพาะไม่เชื่องเท่าไหร่แต่ธรรมดา
 เกินไป ครับ ลองดูภาพด้านล่างสิครับ

                    
       ภาพที่ 4 กาาาาาาาาา กาาาาาาาาา พอคุณกา ร้อง กดชัตเตอร์พอดี เห็นไหมครับว่า
 ภาพตลก และ ดูมีชิวิตขึ้นมาทันที 


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. ภาพบางภาพรอจังหวะ อีกนิด จะได้ภาพที่มีชีวิตชีวา
        2. 
ต้อง สังเกตุ และ คาดเดา ว่าจะมีเหตุการณ์อะไร น่าสนใจ แล้วกดชัตเตอร์ให้ทัน
          ทำให้ภาพนั้นมีคุณค่ามากขึ้น หลายคน ถ่ายตอนกระโดด ก็มี หรือ ถ่ายภาพตอน
          กำลังหัวเราะ อะไรทำนองนี้ หรือ ถ้าคุณถ่ายแมว หาว งูแลบลิ้น ได้อะไรทำนองนี้
          ภาพที่ได้จะน่ารักมากครับ ลองดูนะครับ จังหวะ จังหวะ จังหวะ

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ 4

Basic 04 ทางยาวโฟกัส ง่ายมาก ไม่พูดเลยเดี๋ยวพื้นฐานจะไม่ครบ จ้า..

 
   เวลาเพื่อน ๆ ซื้อกล้องมาเคยสังเกตุไหมครับว่าซูมสูงสุดได้เท่าใด เรารู้ได้จากกล้องจะ
 ตัวเลขบอกไว้ เช่น 35-105 mm หรือ 28-200 mm บางที ก็ดูง่าย ๆ ที่ 3 X , 6 X
 10 x , บางรุ่น ถึง 12 x หรือ 420 mm เลยทีเดียว
    ทางยาวโฟกัส ยิ้งน้อย คือ 28 , หรือ 35 เรียกว่า มีเลนส์มุมกว้าง ทำให้ถ่ายภาพได้มาก
 กว่าในระยะเดียวกัน คือ อยู่ในห้องแคบ ๆ ก็ถ่ายคนยืนหน้ากระดานได้ นับ 10 คน แต่กล้อง
 บางตัว ต้องออกไปถ่ายนอกประตูห้อง เลยทีเดียว อย่างนั้น แสดงว่ามีทางยาวโฟกัสต่ำสุดมาก
   ทางยาวโฟกัส ตั้งแต่ 80 mm ขึ้นไปเราเรียกว่า เลสน์ซูม หรือ ถ่ายไกล คือ สามารถดึง
 รูปที่อยู่ไกล ๆ มาให้อยู่ไกล้ ๆ ได้ ดูภาพด้านล่างประกอบนะครับ แล้ว ในการเลือกซื้อกล้อง
 ก็อย่าลืมดูเสมอ ว่ามีเลสน์ที่มีทางยาวโฟกัส เท่าใด เพียงพอกับการใช้งานหรือไม่..
    รูปทั้ง 4 รูป ด้านล่าง ผมยืนถ่ายรูป จากที่เดียวกัน จุดเดียวกันแต่ถ่ายภาพด้วยทางยาว
 โฟกัสที่ต่างกัน ได้ผลต่างกัน ดังนี้ครับ
                      
       ภาพที่ 1ถ่ายด้วยมุมกว้างสุด คือ 28 mm จะเห็นว่ามองเห็นได้กว้างไกล ทำให้เลนส์
 มุมกว้างนี้เหมาะกับการถ่ายภาพวิว เป็นอย่างยิ่ง หรือ ถ่ายในอาคาร ก็ทำให้เราเห็นได้มาก
 กว่าปรกติ ไม่ต้องถอยออกไปไกลเวลาถ่ายรูป
                      
       ภาพที่ 2 ถ่ายด้วยความยาวโฟกัส 100 mm เห็นไหมครับว่าใกล้ขึ้นมาก
                      
       ภาพที่ 3 ถ่ายด้วยความยาวโฟกัส 150 mm
                    
       ภาพที่ 4 ถ่ายด้วยความยาวโฟกัส 200 mm
ถ้าดูเทียบกับรูปแรก เห็นได้ชัดเลยว่า
 กล้องสามารถซูมเข้าไปใกล้มาก ทั้ง ๆ ที่ยืนที่เดิม เข้าใจเรื่องทางยาวโฟกัสดีแล้วนะครับ
 คราวนี้ แต่มีปัญหาที่ต้องระวัง 2 ประการ คือ ขณะที่ซูมมากๆ ความสว่างของกล้อง
 และ ความไวของชัตเตอร์ จะลดลง ทำให้เราต้องถือกล้องให้นิ่งที่สุด หรือ ใช้ขาตั้งกล้อง
 ซึ่งหลายคนจะพบว่า เวลาซูมมาก ๆ ภาพที่ได้อาจมีการเบลอ บ้าง ด้วยเหตุผลนี้เองครับ

  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. เลนส์มุมกว้าง คือค่าน้อยกว่า 35 mm ทำให้เราถ่ายได้พื้นที่ภาพมากขึ้น
        2.
เลนส์ซูม หรือ เลนส์เทเล หรือ เลสน์ถ่ายไกล แล้วแต่จะเรียก ทำให้เราดึงวัตถุ
          ที่อยู่ไกล ๆ ให้เข้ามาใกล้ได้ ทำให้ไม่ต้องเข้าไปหาวัตถุนั้นมากเกินไป
        3. ขณะที่ถ่ายด้วยการซูม ให้ถือกล้องนิ่ง ๆ เพราะปกติ ความเร็วชัตเตอร์จะลดลง
          หากไม่นิ่งภาพอาจเบลอได้ หรือ ควรใช้ขาตั้งกล้อง เช่นถ่ายภาพนก เป็นต้น

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ 3

Basic 03 ถ่ายภาพนก ได้มาแต่ลูกกรง แก้ไขอย่างไร

 
    ปัญหานี้มักเกิดขึ้นตอนเราไปเที่ยวสวนสัตว์ ใช่ไหมครับ ถ้ามือเก่า ๆ (อาจแก่ด้วย) ก็คง
 ไม่มีปัญหากับการถ่ายภาพในกรง วิธีการแก้ไข ตรงนี้ มือใหม่ ถ้าทำได้ ก็ถือว่าเก่งขึ้นแล้วครับ
 ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เพียงรู้จักการกดชัตเตอร์ ลงครึ่งเดียว มือใหม่หลายคน ไม่ยอม หรือ
 ไม่เคยรู้เลยครับ ว่าแค่กดชัตเตอร์ลงครึ่งเดียว ก่อนการกดจริง จะทำให้ได้ภาพที่ดี ๆ มากขึ้น
    วิธีการคือ เล็ก โฟกัส ไปที่นก แล้วกดชัตเตอร์ ลงครึ่งเดียว พอกล้องจับภาพนกในกรงชัด
 ก็จะมีเสียง ติ๊ดๆ เสียง กล้องนะครับ ไม่ใช่รอฟังเสียงนะ..แฮะ ๆ ก็กดชัตเตอร์ลงไปให้สุดจน
 ตัด แชะ เท่านี้ก็ได้ภาพนกแล้วครับ
    อีกสักนิด หากว่าเล็งอย่างไร ก็มียอมโฟกัสทะลุกรงได้ เกิดกับกล้องบางชนิดที่อาจมีความ
 สามารถในการโฟกัส ไม่ดีหรือดีเกิน ใช้วิธีง่าย ๆ คือ ดูระยะว่านกห่างจะกรง กี่เมตร สมมุติ
 ว่าหากจากกรง 2 เมตร เราก็เอากล้องไปถ่ายสถานที่ข้างเคียงหาวัตถุอะไรก็ได้ที่ห่างกล้อง
 ประมาณ 2 เมตร มีสภาพแสงไม่ต่างกันนัก เล็งวัตถุอันนั้น แล้วกดชัตเตอร์ ให้โฟกัส แล้ว ก็
 ค้างไว้ ค้างไว้ รีบหัน กลับมาที่กรง เล็งนกตัวเดิม แล้วกด แชะ เลย รับรองวิธีนี้ไม่มีพลาด
 ลองดูนะครับ แล้วจะได้ความรู้ เพิ่มความสามารถในการใช้กล้องขึ้นถึง 2 แบบเลยคราวนี้

                      
       ภาพที่ 1 ถ่ายภาพนก แต่ กล้องโฟกัส ที่กรงเลยไม่เห็นนกเลย

                      
       ภาพที่ 2 หลังจากโฟกัสไปที่นกก่อน แล้วค่อยกดโฟกัส ค้างไว้จนชัด แล้ว กดชัตเตอร์
 จะเห็นว่าเราได้ภาพนกที่ชัดเจน แทบจะไม่เห็นกรงเลย


                      
       ภาพที่ 3 หากฝึกจนชำนาญ ก็แทบจะทำให้กรงหายไปเลยครับ หรือ หากเรานำไป
 ตกแต่งเล็กน้อย คือตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นตัวนกก็จะได้ภาพงาม ๆ เลยทีเดียวละ..


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. ควรกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ทุกครั้ง ก่อนถ่ายภาพ เพื่อโฟกัสก่อน
        2.
หากการโฟกัสยากในบางสถานการณ์ ก็ให้โฟกัส ที่อื่นที่ระยะเท่ากันก่อนแล้ว
          ค่อยกลับมา กดชัตเตอร์ ภาพที่เราต้องการ แต่การโฟกัสที่อื่น ควรมีสภาพแสงที่
          เหมาะสมด้วย นะครับ

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ 2

Basic 02 ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ด้วยการเพิ่มค่า ความไวแสง

 
     จริง ๆ แล้วเรื่องความไวแสง หรือ ค่า ISO นั้น บางคนบอกว่าไม่น่าจะเป็นความรู้ระดับ
 เบื้องต้น แต่ผมมองต่างกันครับ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ และ เป็นปัญหาคาใจของ
 นักถ่ายรูปมือใหม่ คือ ทำไม ภาพ เบลอ บางครั้งกล้องคุณป้องกันการสั่นของมือได้ แต่
 ปัญหา คือ ภาพที่คุณถ่าย ไม่นิ่งครับ ต่อให้มือคุณไม่สั่นเลย ก็ไม่อาจถ่ายภาพคมชัดได้ หาก
 ไม่ตั้งค่า ความไวแสง หรือ ISO ให้ถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่กล้องทุกวันนี้ มีค่า ISO สูง ๆ
 กันแล้วทั้งนั้น เราเสียเงินซื้อกล้องแพง ต้องรู้จักใช้ หลักการคือ เมื่อถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย
 หรือ ภาพที่เคลื่อนไหวเร็ว ๆ และแสงไม่พอ อย่าลืมเพิ่มค่า ISO ให้สูงขึ้นด้วย
      แต่ ถ้าในสภาพแสงดี จงถ่ายด้วย ISO ที่ต่ำที่สุด คือ 100 หรือ 200 เพื่อให้ภาพที่ดี
 เพราะผลของการเพิ่มค่า ISO คือ จะได้ภาพที่มีเม็ดสีหยาบ หรือที่เรียกว่า noise ครับ

                      
       ภาพที่ 1 ถ่ายภาพ การแสดง ด้วย ISO 200 ทำให้ ภาพไม่คมชัดพอ ไม่สามารถเอาไป
  โชว์เพื่อน ๆ ได้แล้ว และ เก็บไว้ก็เปลืองพื้นที่ด้วยสิ

                      
       ภาพที่ 2 ปรับค่า ISO ของกล้องเป็น 400 เห็นไหมครับว่า สวยและคมขึ้นได้แสง
 ที่สว่างมากขึ้นด้วย และ ยังเห็นดาบ เป็นความเคลื่อนไหว ที่ดีพองาม คือรู้สึกได้ว่ากำลัง
 สู้กันอยู่ ไม่ได้ ยืนนิ่ง ๆ เอาดาบชนกัน


                      
       ภาพที่ 3 ภาพนี้ ISO 800 ครับหยุดความเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นมากเลย สังเกตุให้ดี
 เห็นคนที่นอนหงายท้อง พึ่งจะล้มลง และ ดาบที่ฟันกัน นั้นยังเห็นประกายไฟ กระจายด้วย
 ภาพก็สว่างมากขึ้น ได้อารมณ์ดี เห็นไหมครับว่าเพียงเราเพิ่มค่า ISO เท่านั้นก็ถ่ายภาพแบบ
 นี้ได้แล้ว แต่ก็ต้องฝึกฝนนะครับ มือใหม่ ก็จะได้กลายเป็นมือโปร กะเขาได้ เอาใจช่วย..นะ


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. เมื่อต้องถ่ายภาพในที่มีแสงน้อยและภาพเคลื่อนไหว อย่าลืมเพิ่ม ISO
        2.
การเพิ่มค่า ISO หรือ ค่าความไวแสงของกล้อง ทำให้กล้องมีความเร็วชัดเตอร์ขึ้น
        3. สำคัญที่สุดเลย อย่าลืม อย่าลืม อย่าลืม ปรับ ISO กลับไปที่ 100 เหมือนเดิม
          หลังจากถ่ายรูปในที่แสงน้อยเสร็จแล้ว ตรงนี้สำคัญที่สุด ฝึกให้คุ้นเคย .. นะครับ

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพ

Basic 01  เทคนิคง่ายสุด ๆ มุมมองที่ดีทำให้รูปคุณสวยขึ้น
 ภาพทั้ง 3 ภาพด้านล่างนี้ถ่าย ที่สถานที่เดียวกัน เวลา ใกล้เคียงกัน แต่มุมมองต่างกัน
 ก่อนถ่ายภาพทุกครั้ง ถ้าเรานึกมุมมองก่อน เราจะได้ภาพที่ดีขึ้น ในตัวอย่างที่ 1 นี้
 มุมมอง ให้ความสำคัญที่ ฉากหลัก ดูตัวอย่างพร้อมคำอธิบายประกอบ นะครับ

                      
       ภาพที่ 1 เห็นว่าฉากหลังไม่สวย คือ กดชัตเตอร์ ลงไปเลย โดยไม่ได้คำนึกถึงภาพ
 ที่ออกมา ผลก็คือ ฉากหลังดูรก รุงรัง ดูแล้วขัดตาต่างจาก 2 ภาพด้านล่าง

                      
       ภาพที่ 2 ภาพนี้ถ่ายโดยย่อตัวลงมาต่ำกว่าภาพที่ 1 เลือกฉากหลักที่เป็นกำแพงขาว ๆ
 แทนที่จะรกเหมือนภาพแรก ก็ทำให้ภาพดูดีขี้น โดดเด่น คือสิงโต และ ดอกบัวเด่นขึ้น


                      
       ภาพที่ 3 ภาพนี้ต่างกัน คือเข้าไปใกล้ สิงโตให้มากที่สุด และ มองจากมุมสูงลงมา
 เลือกฉากหลังที่เป็น สระน้ำมีใบบัวอยู่ด้วย เพื่อรับกับ ดอกบัวที่บูชาอยู่หน้าสิงโต
 บนใบบัวก็ยังมีหยดน้ำอยู่อีก ภาพที่ให้ความรู้สึกที่ดีกว่า 2 ภาพแรกใช่ไหมครับ แต่ถ้าคุณ
 ชอบเห็นสิงโตชัด ๆ ก็เลือกแบบภาพที่ 2 จะดีกว่าครับ








วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ณ โคราช

วันหยุด        เสาร์-อาทิตย์

กับการ           เดินทาง - ถ่ายภาพ               เบาๆ   


                                
                                
                                
                                
                                

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

Welcome to My Home cνρ ♠

ผมชื่อ นายวีรพงษ์ เจริญวสันต์กุล
คณะการบัญชีและการจัดการ
สาขา บัญชี

ยินดีที่ได้รู้จัก นะคับ.       ^^
 ░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░░



    ➨        ♪